สถิติ
เปิดเมื่อ24/06/2011
อัพเดท19/02/2014
ผู้เข้าชม16446
แสดงหน้า20714
ลิ้งที่เกี่ยวข้อง
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
ผลงานที่ผ่านมา
 

จัดทำโปรแกรมออกหน่วยและประมวลผลให้ บริษัทตรวจสุขภาพพัฒนา

จัดทำโปรแกรมออกหน่วยและประมวลผลให้ บริษัท บางกอกอินเตอร์ เฮลธ์แคร์ จำกัด
และบริษัทอื่นๆ อีก เช่น 
- ศูนย์สุขภาพจงดีวิริยะ
- ศูนย์ PSPC Checkup Center
- ศูนย์ตรวจสุขภาพหมอมานะ
- ศูนย์สายตานิวลุ๊ค
เป็นต้น
 




บทความ

การดูแลสุขภาพ


 การดูแลสุขภาพ :: ข้อปฏิบัติตนเมื่อพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูง
       ภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง  หรือเป็นเบาหวานนั้นเราพบว่า  ถ้าปล่อยไว้นานๆ  จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้มากมาย เช่นโรคไตวาย ,ความดันโลหิตสูง ,โรคหัวใจ  ดังนั้นเมื่อตรวจพบว่าเป็นเบาหวานจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ ข้อปฏิบัติต่อไปนี้จะช่วยให้อาการต่างๆ ดีขึ้นตลอดจนช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลงด้วย
 
1. ควรงดของหวานและน้ำตาล ถ้าหากอยากรับประทานของหวานควรใช้น้ำตาลเบาหวานแทนน้ำตาลธรรมดา และรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้แทน ทั้งนี้เพราะเนื่องจากผักและผลไม้มีใยอาหารซึ่งจะช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลลงได้ด้วย ส่วนอาหารกลุ่มอื่น เช่น เนื้อสัตว์, แป้ง , ไขมัน  ควรรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะ
2. ถ้าอ้วน ควรลดน้ำหนักตัวลงด้วย จากสถิติพบว่าคนไข้เบาหวานที่อ้วน เมื่อลดน้ำหนักตัวลงเรื่อยๆ จนอยู่ใกล้น้ำหนักมาตรฐานน้ำตาลในเลือดจะลดลงด้วย จนบางครั้งไม่จำเป็นต้องให้ยาเบาหวานอีกต่อไป
3. ควรออกกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับลักษณะสภาพร่างกายและอายุ
4. ตรวจน้ำตาลในเลือดโดยสม่ำเสมอหรือตรวจดูน้ำตาลในปัสสาวะด้วยตนเอง
5. ควรรับประทานยา หรือฉีดยาตามแพทย์สั่ง ถ้ามีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
6. ในบางครั้งผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีน้ำตาลในเลือดต่ำลง ซึ่งอาจเป็นเพราะออกกำลังกายมากหรือรับประทานอาหารน้อยไป ทำให้เกิดอาการเหงื่อออก ใจสั่น คล้ายจะเป็นลม จึงควรมีน้ำตาลหรือลูกอมพกติดตัว เมื่อเกิดอาการดังกล่าวให้นำมาอมหรือกินทันที
7. เนื่องจากบางครั้งผู้ป่วยเบาหวาน จะมีอาการของปลายประสาทชา ทำให้มือและเท้ารับความรู้สึกไม่ได้ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะที่เท้าต้องหมั่นตรวจดูเท้าทุกวันใส่รองเท้าที่พอดีไม่คับจนเกินไป
 
 การดูแลสุขภาพ :: ข้อปฏิบัติตนเมื่อมีภาวะไขมันโคเลสเตอรอลสูง
       ภาวะที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูงอยู่นานๆ เป็นผลให้มีเส้นเลือดแดงแข็ง และอุดตันได้ง่าย เป็นผลให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองตามมาได้ การปฏิบัติตนเพื่อลดไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดทำได้ดังนี้
 
พยายามลดอาหารประเภทไขมัน อาหารที่ปรุงแต่งโดยวิธีทอด , ผัด มักมีไขมันมากควรใช้วิธีนึ่ง หรือต้มแทน ลดการรับประทานอาหาร นม เนย กะทิ มันหมู ฯลฯ
ลดปริมาณของอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ซึ่งได้แก่ ไข่แดงของเนื้อสัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไข่เป็ด ไข่นก ไข่เต่า และกุ้ง ฯลฯ เครื่องในสัตว์ หนังสัตว์ เช่น หนังเป็ด หนังไก่ ฯลฯ
ใช้น้ำมันพืชในการปรุงอาหารแทนการใช้น้ำมันหมู เนื่องจากน้ำมันพืช (ยกเว้นน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม) จะมีกรดไลโนเลอิคสูง ซึ่งกรดไลโนเลอิคนี้ จะช่วยเผาผลาญ โคเลสเตอรอล ทำให้ระดับของโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้
เพิ่มการรับประทานอาหารที่มี FIBER (ใยอาหาร) มากขึ้น ซึ่งอาหารที่มีใยอาหารมากพบได้ในพืช ผัก ผลไม้
 
กรุณาปฏิบัติเช่นนี้ประมาณ 1-2 เดือน แล้วมาตรวจดูไขมันโคเลสเตอรอลอีกครั้งหนึ่ง ถ้าหากระดับลดลงจนปกติ ควรปฏิบัติเช่นนี้ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากระดับยังสูงกว่าปกติมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาช่วยลดไขมัน
 
 การดูแลสุขภาพ :: ข้อปฏิบัติตนเมื่อไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
       ภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง แม้ว่าจะไม่อันตรายเท่าไขมันโคเลสเตอรอลสูง แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ให้สูงอยู่นานๆ ก็จะเป็นผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน ภาวะดังกล่าวนี้จะลดลงได้ถ้าหากได้ปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
 
ควรลดน้ำหนักลงมาให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือใกล้เคียง ถ้าหากเป็นคนอ้วน
ลดการรับประทานอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล เนื่องจากอาหารกลุ่มนี้ สามารถที่จะเป็นไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายได้โดยง่าย กลุ่มอาหารดังกล่าว ได้แก่ ข้าว , ขนมปัง , ก๋วยเตี๋ยว ,ของหวาน , น้ำหวานต่างๆ
งดดื่มสุรา เบียร์ต่างๆ และงดสูบบุหรี่ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับไขมันเพิ่มขึ้น
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ไขมันชนิดนี้ลดลงได้
ลดอาหารที่มีไขมันสูง และใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารแทนน้ำมันจากไขมันสัตว์ (ยกเว้นน้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม)
 
กรุณาปฏิบัติเช่นนี้ประมาณ 1-2 เดือน แล้วมาตรวจดูไขมันไตรกลีเซอไรด์อีกครั้งหนึ่ง ถ้าหากลดลงจนมาอยู่ในเกณฑ์ปกติแล้ว ให้ปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากตรวจพบว่าระดับยังสูงกว่าปกติมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาช่วยลดไขมัน
 
 การดูแลสุขภาพ :: ข้อปฏิบัติตนเมื่อตรวจพบว่ามีกรดยูริคในเลือดสูง
       ภาวะที่มีกรดยูริคในเลือดสูงอยู่นานๆ ก่อให้เกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง เช่น โรคเก๊าท์ คือ ภาวะที่มีข้ออักเสบเนื่องจาก กรดยูริคไปตกตะกอนในข้อ , นิ่วที่กรวยไต , ไตวาย เป็นต้น การลดระดับของกรดยูริคในเลือด จะช่วยป้องกันภาวะต่างๆ ได้โดยการปฏิบัติดังนี้
 
1. ดื่มน้ำมากๆ เนื่องจากกรดยูริคจะขับออกทางปัสสาวะได้ดีขึ้น และช่วยไม่ให้ตกตะกอนได้ง่าย
2. ไม่ดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะพบว่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้กรดยูริคตกตะกอนในข้อได้ง่าย ทำให้มีข้ออักเสบตามมา
3. ลดอาหารบางอย่างที่จะไปเพิ่มระดับของกรดยูริคในเลือดได้ เช่น เครื่องในสัตว์ , สัตว์ปีก ,หน่อไม้ฝรั่ง , แตงกวา , ยอดผัก ฯลฯ
4. ถ้ามีน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนัก จะช่วยให้กรดยูริคในเลือดลดลงได้
   
เมื่อปฏิบัติดังนี้ แล้วยังมีอาการของข้ออักเสบอยู่บ่อยๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาลดระดับของกรดยูริคในเลือด
 
 การดูแลสุขภาพ :: ข้อปฏิบัติตนเมื่อพบว่ามีความดันโลหิตสูง
       ภาวะที่มีความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง (ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ไขมันโคเลสเตอรอลสูง , การสูบบุหรี่ , อ้วน , ไม่ได้ออกกำลังกาย ,เคร่งเครียด ฯลฯ) เพื่อช่วยลดระดับความดันโลหิตสำหรับผู้ที่ตรวจพบว่าเริ่มมีความดันโลหิตสูงแล้ว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
   
1. งดอาหารที่มีรสเค็ม เช่น ไข่เค็ม ปากเค็ม กะปิ เต้าเจี้ยว หมูเค็ม ฯลฯ อาหารที่รับประทานควรปรุงด้วยเกลือหรือน้ำปลาน้อยที่สุด
2. ลดอาหารมันทุกชนิดและหลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ ขาหมู หมูสามชั้น อาหารประเภททอดหรือผัด อาหารที่ปรุงด้วยกะทิ ควรใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร ควรรับประทานไข่ไม่เกิน 3 ฟอง ต่อสัปดาห์
3. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมหวาน และผลไม้หวาน เช่น ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่
4. งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. ทำจิตใจให้สบายไม่เครียดวิตกกังวล
6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7. ตรวจวัดความดันโลหิตและตรวจวัดระดับโคเลสเตอรอลสม่ำเสมอ
8. ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
   
ถ้าหากได้ปฏิบัติเช่นนี้แล้ว ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงไม่มาก ความดันโลหิตมักจะลดลงมาจนเป็นปกติ สำหรับผู้ที่รับประทานยาควบคุมความดันโลหิตสูง ก็จะสามารถลดขนาดของยาลงได้