สถิติ
เปิดเมื่อ24/06/2011
อัพเดท19/02/2014
ผู้เข้าชม16451
แสดงหน้า20720
ลิ้งที่เกี่ยวข้อง
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
ผลงานที่ผ่านมา
 

จัดทำโปรแกรมออกหน่วยและประมวลผลให้ บริษัทตรวจสุขภาพพัฒนา

จัดทำโปรแกรมออกหน่วยและประมวลผลให้ บริษัท บางกอกอินเตอร์ เฮลธ์แคร์ จำกัด
และบริษัทอื่นๆ อีก เช่น 
- ศูนย์สุขภาพจงดีวิริยะ
- ศูนย์ PSPC Checkup Center
- ศูนย์ตรวจสุขภาพหมอมานะ
- ศูนย์สายตานิวลุ๊ค
เป็นต้น
 




บทความ

ทำไมต้องตรวจสุขภาพ


 
ทำไม...ต้องตรวจสุขภาพ
                 
                   ร่างกายคนเรานั้นเมื่อถูกใช้ไปนานปี โดยไม่มีการดูแลอย่างถูกต้อง ย่อมมีบางส่วนเสื่อมโทรมไป และมีหลายโรคเกิดขึ้นเองโดยไม่มีอาการ การตรวจสุขภาพจะช่วยให้ทราบว่าร่างกายแข็งแรงปกติ หรือมีสิ่งผิดปรกติเกิดขึ้นจะได้ทำการป้องกันหรือรักษาให้ได้ผลดีที่สุดต่อไป
 
 ท่านปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์ แข็งแรง ครบถ้วนหรือยัง 
ปัจจัยหลัก ที่ทำให้ร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรง อยู่ที่ การดูแลสุขภาพของตนอย่างเหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอบายมุข หรือ สิ่งเสพติดมึนเมา
 
 หากท่านปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพได้ไม่ครบถ้วน และต่อเนื่องสม่ำเสมอทำอย่างไร 
การตรวจสุขภาพเป็นประจำ เป็นขั้นตอนหนึ่งในการทดสอบว่าปัจจุบันสุขภาพของเราเป็นอย่างไร มีความสมบูรณ์ของสภาพร่างกายหรือไม่
 
 ท่านได้ประโยชน์อะไรจากการตรวจสุขภาพประจำปี 
การตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความสมบูรณ์ของร่างกาย ค้นหาความผิดปกติที่ส่งสัญญาณเตือนเจ้าของร่างกาย ให้ดูแลรักษาและปัองกันตนเองเสียก่อน ที่จะเป็นร้ายแรง ช่วยลดปัญหาที่จะนำไปสู่การสูญเสียทางสภาพร่างกาย จิตใจ และปัจจัยทางเศรษฐกิจ

 

   

 ตรวจสุขภาพเพื่ออะไร

               ร่างกายของคนเรานั้นก็เหมือนเครื่องยนต์   ซึ่งพอใช้งานไปนานๆย่อมมีการสึกหรอแต่ถ้ารอให้ถึงตอนนั้นแล้วเอาเข้าอู่ บางทีก็อาจไม่ ทันการณ์  การป้องกันจึงดีกว่าการรักษา   การตรวจสุขภาพจึงทำให้เราสามารถป้องกันและรักษาโรคภัยที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก   ดังนั้นหากท่านปรารถนามีสุขภาพที่ดี จึงควรสละเวลาเพียงเล็กน้อยใน การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อให้ทราบถึงสภาวะของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และช่วยให้ปฏิบัติตัวในเรื่องสุขภาพของตนได้อย่างถูกต้อง ทั้งยังช่วยลดอัตราการเกิดโรคที่รุนแรงถึงชีวิตได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น   
 
        รายการตรวจ            
  ประโยชน์จากการตรวจ
1. วัดความดันโลหิต ชีพจรและตรวจร่างกายโดยแพทย์
(Blood Pressure) 
ตรวจระดับความดันโลหิตว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงดูลักษณะโครงสร้างว่าสมดุลหรือไม่ วัดสายตาว่ามีความผิดปกติอย่างไร แพทย์จะตรวจร่างกายทั่วไปว่าลักษณะ อวัยวะต่างๆเช่น หู คอ จมูก ปอด ตับ ม้าม การเต้นและเสียงของหัวใจผิดปกติหรือไม่
2. การตรวจปัสสาวะ
(Urinalysis)
ตรวจหาความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคไต หรือตรวจหาสารตกค้างของยาเสพติด
3. ตรวจอุจจาระ
(Stool Examination)
ตรวจหาพยาธิชนิดต่างๆ , เม็ดเลือดแดง ,เม็ดเลือดขาว ฯลฯ
4. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เกร็ดเลือด และ  ความเข้มข้นของเลือด 
(Complete Blood Count)
เป็นการตรวจเบื้องต้นเพื่อดูเม็ดเลือดแดง     เม็ดเลือดขาว รวมทั้งเกร็ดเลือดในร่างกายว่ามีรูปร่างและปริมาณปกติหรือไม่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับมะเร็งบางชนิด การติดเชื้อต่างๆ  รวมทั้งโรคที่เกี่ยวข้องกับโลหิตและอื่นๆ 
5. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar) ตรวจหาโรคเบาหวาน
6. ตรวจไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด (Cholesterol) ตรวจหาระดับไขมันชนิด Cholesterol ซึ่งถ้ามีมาก เกินไป จะทำให้มีการพอกของไขมันในหลอดเลือด และอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ
7. ตรวจไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด (Triglyceride)
 
ตรวจหาระดับไขมัน Triglyceride ซึ่งถ้ามีค่าสูงมากๆ เป็นเวลานาน อาจมีผลให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตันได้
8. ตรวจไขมันดีในเลือด
(HDL-Cholesterol)
 
ตรวจหาปริมาณโคเลสเตอรอลประเภทที่มีผลดีต่อร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งถ้ามีค่าสูงจะเป็นผลดี
9. ตรวจไขมันเลวในเลือด
(LDL-Cholesterol)
 
ตรวจหาปริมาณไขมันที่เป็นตัวบ่งชี้ภาวการณ์สะสมของไขมันในเลือด เมื่อมีค่าสูงจะมีความเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง
10. ตรวจสภาพการทำงานของตับอย่างละเอียด
(SGOT, SGPT, Bilirubin, ALK.Phosphatase, Protein)
ตรวจเอนไซม์ตับว่าผิดปกติหรือไม่ ในกรณีค่าสูงกว่าปกติ แสดงว่าอาจมีการอักเสบของตับหรือมีการอุดตันของท่อน้ำดี
11. ตรวจกรดยูริกในเลือด
(Uric Acid)
ตรวจหากรดยูริคซึ่งช่วยในการวินิจฉัยโรคเก๊าท์ ถ้าค่าสูงกว่าปกติ อาจก่อให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือก่อให้เกิดข้อกระดูก หรือเส้นเอ็นอักเสบ
12. ตรวจการทำงานของไต
(BUN, Creatinine)
เป็นการตรวจดูเพื่อประเมินสมรรถภาพการทำงานของไต ช่วยในการวินิจฉัยภาวะไตเสื่อมหรือไตวายได้
13. ตรวจหามะเร็งตับ
(Alpha-Fetoprotein)
ถ้าตรวจพบจะเป็นตัวช่วยบ่งชี้ว่าเป็นมะเร็งตับได้
14. ตรวจหามะเร็งปากมดลูก
(Pap Smear)
ตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก
15. ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ตรวจหาสารบ่งชี้ของมะเร็งต่อมลูกหมากจากในเลือด
16. ตรวจหามะเร็งลำไส้ (CEA) ตรวจหาสารบ่งชี้ของมะเร็งลำไส้จากในเลือด
17. ตรวจหาเชื้อกามโรคและเอดส์ (VDRL, Anti-HIV) ตรวจการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
18. ตรวจไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี (Hepatitis Virus) ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสและภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบ
 
รายการตรวจสุขภาพอัตราพิเศษสำหรับบริษัทที่ต้องการตรวจสุขภาพลูกจ้างประจำปี ,
     ตรวจก่อนเข้างาน , ตรวจก่อนออกจากงาน


ชุดตรวจสุขภาพ ก่อนเข้างาน ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจสุขภาพนักเรียน-นักศึกษา
14 – 35 ปี มากกว่า 35 ปี       ประถม        มัธยม    มหาวิทยาลัย
ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์  (PE)                       © © © © © ©
ตรวจดัชนีมวลกาย (BMI)                                     © © © © © ©
เอกซเรย์ทรวงอก ฟิล์มใหญ่ (CXR)                                  © © ©     ©
ตรวจสายตาพื้นฐาน (Vision test)                         © © © © © ©
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)                      © © ©     ©
ตรวจอุจจาระ (Stool Examination)                   © ©      
ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)                                        ©      
ระดับโคเลสเตอรอลในเลือด (CHOL.)                      ©      
ตรวจปัสสาวะ(UA)                                               © © ©     ©
ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด(TG)                              ©      
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี(HBs Ag)                 © © ©      
ตรวจหาหมู่เลือด (Blood gr.)                                      © © ©
ตรวจหาหมู่เลือด Rh (Blood Rh.)                                  ©
ตรวจหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Anti-HIV)             © © ©     ©
ตรวจการตั้งครรภ์ (หญิง) (Pregnancy  test)       ©          
ตรวจหาสารเสพติด (ชาย) (Amphetamine)        ©       © ©
             

 
 
 
 
 
 
 

รายการตรวจเพิ่มเติมตามความเสี่ยง
ลำดับ รายการตรวจ / Items ลำดับ รายการตรวจ / Items
1. ตรวจหาสารตะกั่ว  (Lead)  urine 14. ตรวจหาสารซิงค์ (Zinc)
2. ตรวจหาสารอลูมิเนียม (Aluminum) 15. ตรวจหาสารหนู (Arsenic)
3. ตรวจหาสารแคดเมียม  (Cadmium) 16. ตรวจหาสารอะซิโตน (Acetone) urine
4. ตรวจหาสารโครเมียม  (Chromium) 17. ตรวจหาสาร  Methyl Ethyl Ketone (MEK) urine
5. ตรวจหาสารปรอท  (Mercury) 18. ตรวจหากรดฟอร์มิก (Formic) urine
6. ตรวจหาสารดีบุก  (Tin) 19. ตรวจหาสารเมตาโบไลท์จากทินเนอร์ , โทลูอีน  (Hippuric)
8. ตรวจหาสาร (Antimony) 20. ตรวจหาสารเมตาโบไลท์จากไซลีน  (Methyl hippuric) ur.
9. ตรวจหาสารทองแดง  (Copper) 21. ตรวจหาสารเมตาโบไลท์จากสไตรีน  (Mandelic) urine
10. ตรวจหาสารแมงกานีส  (Manganese) 22. ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด  (Spirometry)
11. ตรวจหาสารนิกเกิล  (Nickel) 23. ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน  (Audiometry)
12. ตรวจหาสารเมธานอล (Methanol) 24. ตรวจสายตาอาชีวอนามัย  (OC-Vision)
13. ตรวจหาสารฟีนอล (Phenol) urine    

   
      
WUT COMPUTER